วัดคีรีวงศ์ ตั้งวัดเมื่อวันที่ ๘ มิถุนายนพ. ศ. ๒๕๑๙ เดิมเป็นวัดร้างมีสภาพเป็นป่า และภูเขาเมื่อปีพ.ศ. ๒๕๐๔ พระธุดงค์มาปักกลดที่บริเวณวัดได้พบซากวัตถุโบราณ เช่น อิฐเก่า พระพุทธรูปเก่าใบเสมา และฐานอุโบสถ สงสัยว่าเป็นวัดร้างจึงชักชวนประชาชนสร้างกุฏิเล็ก ๆ ขึ้นที่บริเวณเนินเขาจำนวน ๓-๔ หลังและแจ้งให้กรมการศาสนาทราบ
พ. ศ. ๒๕๐๗ กรมการศาสนาได้ส่งเจ้าหน้าที่ทำการสำรวจรังวัดร่วมกับกรมศิลปากร โดยอาศัยหลักฐานจากวัตถุโบราณ และพยานบุคคลที่รู้เห็นน้ำชี้และสำรวจ ได้เนื้อที่ทั้งบนเขาและพื้นที่ราบ ประมาณ ๒๘๐ ไร่ซึ่งกรมการศาสนาได้ทำแผนที่ไว้เป็นหลักฐาน และกรมศิลปากร หน่วยศิลปากรที่ ๓ จังหวัดสุโขทัยได้พิสูจน์หลักฐานจากวัตถุโบราณ ปรากฏว่า วัดคีรีวงศ์สร้างขึ้นในพุทธศตวรรษที่ ๑๙ ปลายกรุงสุโขทัยประมาณ 500 ปีมาแล้วเดิมชาวบ้านเรียกวัดคีรีวงศ์ว่า วัดบ่อกรุ เพราะมีบ่อน้ำซึมอยู่ ๒ บ่อ ปัจจุบันทางวัดยังใช้น้ำจากบ่อน้ำซึมนี้อยู่
พ.ศ. ๒๕๐๘ ผู้ริเริ่มสร้างวัดคีรีวงศ์ไปขอพระสงฆ์จากเจ้าคณะอำเภอเมืองนครสวรรค์ ทางคณะสงฆ์อำเภอเมืองนครสวรรค์ พิจารณาเห็นว่าที่ดินวัดคีรีวงศ์มีเนื้อที่มาก จึงจัดส่งพระมหาบุญรอดเปญฺญาวโร หรือพระราชพรหมาจารย์ ในปัจจุบันให้มาสร้างวัดคีรีวงศ์ และได้สร้างวัดมาจนถึงปัจจุบันได้รับพระราชทานวิสุงคามสีมาเมื่อวันที่ ๑๑ พฤศจิกายนพ. ศ. ๒๕๒๐ เขตวิสุงคามสีมากว้าง ๒๐ เมตรยาว ๔๐ เมตร
การศึกษา มีโรงเรียนพระปริยัติธรรมแผนกธรรม เปิดสอนเมื่อพ.ศ. ๒๕๒๐
มีโรงเรียนพระปริยัติธรรมแผนกบาลี เปิดสอนเมื่อพ.ศ. ๒๕๓๖
มีโรงเรียนพระปริยัติธรรมแผนกสามัญ เปิดสอนเมื่อพ.ศ. ๒๕๓๖
การบริหารและการปกครอง มีเจ้าอาวาสรูปปัจจุบัน คือ พระราชพรหมาจารย์ วิ.
ตั้งอยู่เลขที่ ๓๕๖/๑ ถนนมาตุลี ตำบลปากน้ำโพ อำเภอเมืองนครสวรรค์ จังหวัดนครสวรรค์
พระราชพรหมาจารย์ วิ.
๐ ๕๖๒๒ ๒๐๐๙ โทรสาร ๐ ๕๖๓๑ ๒๑๗๕
ทิศ | รายละเอียด |
---|---|
ทิศเหนือ | จดภูเขา |
ทิศใต้ | จดถนนมาตุลี |
ทิศตะวันออก | จุดภูเขาและที่ดินเทศบาลนครสวรรค์ |
ทิศตะวันตก | จดภูเขาและที่ดินราชพัสดุ |
มีพระประธานประจำอุโบสถ ปางสมาธิ พระประธานประจำศาลาการเปรียญ ปางสมาธิ
ปูชนียวัตถุอื่น ๆ ๑. อาคารโรงเรียนพระปริยัติธรรม
๒. พระจุฬามณี
๓. พระพุทธชินสีห์
๔. ห้องสมุดพุทธชินวงศ์
๕. ศาลากวนอิม
๖. ศาลาธรรมสภา
๗. ศาลาเจ้าแม่กวนอิม
๘. ศาลาพระธรรมกิตติวงศ์
๙. ศาลาพระพุทธชินราช
๑๐. ศาลาสันติสุข
๑๑. กุฏิวิปัสสนากรรมฐาน
๑๒. ลานปฏิบัติธรรม