ค้นหาวัด:
ค้น

วัดจันเสน

การศึกษา        มีโรงเรียนพระปริยัติธรรมแผนกธรรม

มีโรงเรียนมีศูนย์ศึกษาพระพุทธศาสนาวันอาทิตย์

วัดจันเสนตามหลักฐานจากเอกสารรับรองสถานภาพของวัดจากสำนักงานพระพุทธศาสนา

แห่งชาติตั้งวัดเมื่อปีพ.ศ. ๒๕๔๖ มีหลวงพ่อเขียนเป็นเจ้าอาวาสรูปแรก ตามคำบอกเล่าต่อกันมาว่าท่านเป็นชาวอยุธยาได้เดินธุดงค์มาปักกลด อยู่ที่ริมบึงโบราณจันเสน เห็นสภาพพื้นที่เหมาะที่จะตั้งเป็นวัดจึงได้ชวนชาวบ้านญาติโยมสร้างเป็นวัดและได้ตั้งชื่อเป็นวัดจันเสน ตั้งแต่นั้นมาเหตุที่ให้ชื่อว่าเป็นวัดจันเสนคงจะให้สอดคล้องกับชื่อสถานที่ เช่นบึงโบราณจันเสน สถานีรถไฟจันเสน ตลาดจันเสน บ้านโคกจันเสน ตำบลจันเสนและมีเรื่องเล่าต่อ ๆ กันมาสรุปได้ดังนี้ได้รับพระราชทานวิสุงคามสีมา เมื่อพ. ศ. ๒๔๗๙ เขตวิสุงคามสีมากว้าง ๑๖. ๖๐ เมตรยาว ๒๙. ๐๕ เมตร

 ๑. ชื่อจันเสน คนในโคกจันเสนเล่าสืบกันมาว่า เดิมชื่อเมืองสามแสน เป็นเมืองใหญ่ที่มีคนอยู่ถึงสามแสนคน บางคนเล่าว่าเจ้าเมืองสามแสนมาจากทางภาคเหนือ ผ่านเมืองกำแพงเพชร เมื่อครั้งเจ้าพระยาศรีธรรมาโศกราช

๒. ชื่อจันเสนเพราะใช้คนสามแสนคนขุดดินคนละหนึ่งก้อนจนกลายเป็นบึงจึงเรียกว่าซึ่งจันเสน

๓. ชื่อจันเสนเพราะมีลิงเสนอยู่ในโคกจันเสนเป็นจำนวนมาก

๔. ในโคกจันเสนมีต้นจันเก่าแก่ยังหลงเหลืออยู่จนถึงปัจจุบันจึงเรียกว่าจันเสน

 ๕. ก่อนสร้างอุโบสถวัดจันเสน มีต้นไผ่พอตัดต้นไผ่มาทำกระบอกน้ำพบพิมเสนอยู่ในกระบอกไม้ไผ่เป็นจำนวนมาก จึงเรียกว่าจันเสน

วัดจันเสน ตั้งอยู่บนที่ดินตามโฉนดที่ดินเลขที่ ๑๒๑๘๑ เนื้อที่ประมาณ ๓๒ ไร่ ๖๐ ตารางวา

การศึกษา        มีโรงเรียนพระปริยัติธรรมแผนกธรรม                  เปิดสอนเมื่อพ.ศ. ๒๔๘๙

นอกจากนี้มีศูนย์ศึกษาพระพุทธศาสนาวันอาทิตย์     เปิดสอนเมื่อพ.ศ. ๒๕๕๐

การบริหารและการปกครอง มีเจ้าอาวาสรูปปัจจุบัน คือ พระครูนิวิฐธรรมขันธ์ มุนิจารี

ที่อยู่

เลขที่ ๒๓๕ หมู่ที่ ๒ ตำบลจันเสน อำเภอตาคลี จังหวัดนครสวรรค์

ชื่อเจ้าอาวาส

พระครูนิวิฐธรรมขันธ์ มุนิจารี

หมายเลขโทรศัพท์

๐ ๕๖๓๓ ๙๑๑๕ โทรสาร ๐ ๕๖๓๓ ๙๑๐๒, ๐ ๕๖๓๓ ๙๑๑๕

อาณาเขต

ทิศ รายละเอียด
ทิศเหนือ จดที่ดินเลขที่ ๔ พ ทางสาธาณประโยชน์
ทิศใต้ จดที่ดินเลขที่ ๔ พ บึงจันเสนและทางสาธารณประโยชน์
ทิศตะวันออก จดที่ดินเลขที่ ๔ พ บึงจันเสนและทางสาธารณประโยชน์
ทิศตะวันตก จดคลองสาธารณประโยชน์ทางสาธารณประโยชน์

วัตถุมงคล

มีพระประธานประจำอุโบสถ พระพุทธชินราช (จำลอง) ขนาดหน้าตักกว้าง ๗๒ นิ้วสูง ๙๙ นิ้วสร้างเมื่อพ. ศ. ๒๕๑๒ พระประธานประจำศาลาการเปรียญ พระพุทธชินราช (จำลอง) ขนาดหน้าตักกว้าง ๑๐. ๘๓ นิ้วสูง ๑๕. ๓๘ นิ้วสร้างเมื่อพ. ศ. ๒๕๓๕ พระพุทธรูปสำคัญประจำวัดมีอยู่ ๓ องค์คือ พระพุทธรูปปางนาคปรกสมัยลพบุรี สร้างจากหินทรายแกะสลัก

ขนาดวัดจากฐานถึงเศียรนาค ๓ ศอกครึ่ง หน้าตักกว้าง ๑ ศอกครึ่ง     จำนวน ๒ องค์

ขนาดวัดจากฐานถึงเศียรนาคสูง ๒๐ นิ้วหน้าตักกว้าง ๙ นิ้ว             จำนวน ๑ องค์

แชร์หน้านี้

คลังรูปภาพ